“Trust No One”
+The Kingdom เป็นผลงานกำกับโดย ปีเตอร์ เบิร์ก ซึ่งมีผลงานก่อนหน้านี้อย่าง The Rundown (เดอะ ร็อคนำแสดง) เป็นผลงานสร้างชื่อ และกับ The Kingdom เองหน้าหนังดูเหมือนกันหนังแอ็คชั่นล้างผลาญ ยิงกันวินาศสันตะโร ที่หยิบเอาเรื่องการก่อการร้ายมาเล่น เหมือนกันหนังแอ็คชั่นเรื่องๆต่างๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยมักจะมีแคแรคเตอร์ตัวร้ายเป็นคนตะวันออกกลาง . .
+แต่เมื่อได้ดูจริงๆ กลับพบว่า The Kingdom มีอะไรที่คมคาย และลึกซึ้งกว่านั้นมาก นอกเหนือไปจากหนังแนวแอ็คชั่นสืบสวนธรรมดา .. นี่คือหนัง
แอ็คชั่นที่มีเรื่องราวของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีมุมมองที่จริงจัง ขึงขัง หนักแน่นไม่ใช่น้อย รวมทั้งวิธีคิด และทัศนคติที่แตกต่างกันของคนตะวันออกและตะวันตก . .
+ซึ่งความแตกต่างทางด้านศาสนา รูปแบบการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อมนี่แหล่ะ จึงทำให้แม้จะนับถือศาสนาที่สอนให้เป็นคนดีเหมือนกัน แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ . .
+หนังเปิดเรื่องในซาอุดิอาระเบีย เมื่อย่านนิคมของชาวตะวันตกถูกวางระเบิดอย่างอุกอาจกลางเมือง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ FBI ในอเมริกา พยายามหาทางเข้าไปยังสถานที่เกิดเหตุ เพื่อตามหาเบาะแสและลากตัวคนผิดมาดำเนินคดีให้ได้
+ซึ่งแม้จะปฏิเสธไปในตอนแรกแต่ที่สุดแล้ว เจ้าหน้าที่ FBI ภายใต้การนำทีมของโรนัลด์ เฟลอรี่ (รับบทโดย เจมี่ ฟ็อกซ์) ก็สามารถเข้าไปยังสถานที่เกิดเหตุจนได้ โดยมีผู้พันอัลกาซี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศเจ้าบ้านเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล และควบคุมไปในตัว
+เมื่อมาถึง ก็ไม่ใช่ว่าเฟลอรี่และลูกทีมที่เหลือจะทำงานตามหน้าที่ได้อย่างที่คิด เนื่องจากถูกผูกติดกับกฎและข้อห้ามต่างๆมากมาย ทั้งในแง่ของศาสนาที่ต่างๆกัน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่สุดท้ายเฟลอรี่ก็หาทางจนได้โดยมีผู้พันอัลกาซีเป็นผู้ช่วยเหลือ .. เมื่อสามารถเริ่มต้นสืบสวนเรื่องได้อย่างสะดวก พวกเขากลับตกเป็นเป้าในการสังหารของผู้ก่อการร้ายในทันที . .
+เรื่องราวของหนัง มองเผินๆ อาจจะเหมือนหนังแอคชั่นคู่หูหลายๆเรื่อง ที่ตัวละครนำต้องมีความขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว หรือรูปแบบในการใช้
ชิวิต . . เริ่มแรกคบด้วยความไม่เข้าใจและไม่เข้าขากัน ก่อนจะพัฒนาความสัมพันธ์กลายมาเป็นคู่หูที่รู้ใจ
+บทหนังของ The Kingdom พาเราไปได้ลึกกว่าที่เห็น เพราะในหนังไม่ใช่มีความขัดแย้งของคนแค่สองคน และถึงหากจะมีแค่สองคน The Kingdom ก็ยังพาคนดูอย่างเราๆไปได้ไกลมากกว่านั้นอยู่ดี ตรงนี้ต้องขอยกความดีให้กับบทหนังจากฝีมือของไมเคิล คาร์นาแฮน
+นอกจากบทหนังของไมเคิล คาร์นาแฮนจะสอดแทรกให้เห็นถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ศาสนา และสภาพแวดล้อมแล้ว ยังชูปมด้านกลวิธีในการคิด รวมไปถึงการใช้ชีวิต ผสมกลมกลืนเข้ามากับเนื้อเรื่องที่เดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก .
+ภายในประเด็นของการสืบสวน และสอบสวนหาตัวผู้ทำผิดและคนบงการในการวางระเบิดที่เกิด
ขึ้นโดยใช้ตัวละครเพียงแค่ไม่กี่ตัว เหตุการณ์ไม่กี่เหตุการณ์ สามารถแสดงให้เห็นได้ถึงผลกระทบในวงกว้างได้เป็นอย่างดี . .
+แต่ก็ไม่ลืมที่จะชี้ให้เห็นถึงวิถีความคิดที่คนตะวันตกมีต่อคนอาหรับหรือมุสลิม (ตะวันออกกลาง) ผ่านทางเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายไปอย่างเต็มๆ ซึ่งแผลร้ายที่เกิดขึ้นในจิตใจนั้น ไม่สามารถที่จะลบเลือนให้หายไปได้โดยง่าย . . รวมไปถึงสถานการณ์บางอย่างที่ผลักดันให้ตัวละครตัวหนึ่งเดินไปหาอีกฝ่ายหนึ่งอย่าง
ง่ายดาย โดยที่ในจุดเริ่มของความคิดนั้น ไม่เคยเลยสักนิดที่จะรู้สึกหรือคิดตัดสินใจแบบนั้น . .
+การแสดงของนักแสดงในเรื่องทั้งหมด แทบจะทุกคนถ่ายทอดออกมาในแบบเชิง “น้อย” แต่มีความ “ลึก” อยู่ในตัว ทั้งเจมี่ ฟ็อกซ์เอง คริส คูเปอร์ หรือแม้แต่เจนนิเฟอร์ การ์เนอร์ ที่รับบทสมทบเองก็ตาม (เป็นเจ้าหน้า FBI หญิงคนเดียวในกลุ่ม) ทั้งๆที่บทมีอะไรให้เล่นไม่มาก และหนังมีเวลาของ
แคแร็คเตอร์ให้น้อย แต่การ์เนอร์ยังถ่ายทอดให้เห็นถึงอารมณ์ และดึงความลึกในตัวแคแรคเตอร์ผ่านการแสดงได้ ซึ่งก็สมแล้วที่ได้ดาราระดับนี้มาเล่นให้
+แต่นักแสดงที่เด่นมากจริงๆ คงจะต้องยกให้ผู้รับบทเป็นผู้พันอัลกาซี และจ่าเมย์แธม ทั้งคู่ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเยี่ยมยอด โดยเฉพาะคนแรก ซึ่งต้องแสดงเป็นตัวละครที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น ไหนจะเพื่อนร่วมชาติ ส่วนนั่นก็หน้าที่ โน่นก็พลเรือนธรรมดา สามัญชนทั่วไป . . จุดนี้เองทำให้ The Kingdom มีอารมณ์ส่วนของดราม่าที่เข้มข้นไม่ใช่น้อยเลย