Ant-Man and the Wasp Quantumania (2023) จักรวาลภาพยนตร์ของ Marvel Studios หรือ MCU (Marvel Cinematic Universe) ได้เดินทางมาถึงเฟสที่ 5 ในมหากาพย์มัลติเวิร์ส (Multiverse Saga) เป็นที่เรียบร้อยแล้วล่ะครับ
ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่า พอ MCU เข้าเฟส 4 หลังจบ ‘Avengers: Endgame’ (2019) ภาพรวมก็ออกมาดูหงอยๆ ภาพรวมของธีมมัลติเวิร์ส ที่กะว่าจะเป็นจุดเด่นจุดขายก็แตะได้ในระดับผิวๆ ไม่ได้มีเซอร์ไพรส์หรืออีเวนต์ใหญ่ๆ แถมหนังและซีรีส์ในเฟส 4 เกือบทั้งหมดก็ดันเป็นหนัง Standalone ที่เน้นเปิดตัวฮีโรหน้าใหม่ (และภาคต่อฮีโรหน้าเก่า) เสียเป็นส่วนใหญ่ จนแทบจะนึกหาโมเมนต์ประทับใจ Hype ขั้นรุนแรงในเฟส 4 ไม่ค่อยออกจริงๆ ครับ
จนมาถึงในปีนี้ที่เดินทางเข้าสู่เฟสที่ 5 เรียบร้อยแล้ว และหนังตัวเปิดจักรวาลในเฟสนี้ก็คือหนังเดี่ยวภาคที่ 3 ของ สก็อต แลง (Scott Lang) หรือแอนท์แมน (Ant-Man) ซูเปอร์ฮีโรพลังมด หนึ่งในสมาชิกฮีโร Avengers ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งในหนังเดี่ยว 2 ภาคแรกของเขาทั้ง ‘AntMan’ (2015) และ ‘Ant-Man and theWasp’ (2018) นั้นก็มักจะเป็นหนังที่ยืนพื้นในการเป็นหนังรอมคอมแนวครอบครัว ผสมหนังจารกรรมที่มีกลิ่นอายเฮฮา ที่แม้ว่าอาจจะไม่ได้เปรี้ยงปร้างเฉิดฉายได้เท่ากับหนังเดี่ยวซูเปอร์ฮีโรเจ้าอื่น ๆ แต่ที่ผ่านมาทั้งในหนังเดี่ยว และการปรากฏตัวในหนังรวมฮีโรต่างๆ ก็พิสูจน์ว่าแอนท์-แมนเองก็เป็นซูเปอร์ฮีโรที่หลายคนรักและชื่นชอบไม่น้อย
โดยในภาคนี้ก็ยังคงได้ เพย์ตัน รีด (Peyton Reed) ผู้กำกับจาก 2 ภาคแรกกลับมากำกับเช่นเคย แต่ในฝั่งของผู้เขียนบทมีการเปลี่ยนมือ โดยได้ เจฟฟ์ เลิฟเนสส์ (Jeff Loveness) ผู้เขียนบทแอนิเมชันซีรีส์สายปั่น ‘Rick and Morty’ ที่โดนจองตัวให้เขียนบท ‘Avengers: The Kang Dynasty’ ในเฟส 6 แล้วเป็นที่เรียบร้อย พร้อมกับนักแสดงชุดเดิมกลับมาแบบครบๆ รวมทั้งนักแสดงใหม่ๆ และนักแสดงเซอร์ไพรส์ที่ยังไม่รู้บทบาท นอกจากจะต้องไปดูในหนังกันเอาเอง
เรื่องราวของภาค ‘Quantumania’ นี้จะเล่าเรื่องของ สก็อต แลง/แอนท์-แมน (Paul Rudd) หลังจากที่เขาติดในมิติควอนตัม 5 ปี และหนีไปเป็น Avengers จนกลายเป็นคนดัง เขียนหนังสือขายดี ไปไหนใครก็รู้จัก แต่เป้าหมายสูงสุดของเขาก็คือ
การได้ใช้เวลาอยู่กับลูกสาว แคสซี แลง (Kathryn Newton) สาวน้อยหัวเนิร์ดวัย 18 ปีที่ห้าวด่องๆ จนติดคุกมาแล้วหลายครั้ง
ตอนนี้พวกเขากลายเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของ 2 ตายาย ดร.แฮงก์ พิม (Michael Douglas), เจเน็ต แวน ดายน์ (Michelle Pfeiffer) และ โฮป แวน ดายน์/เดอะ วอสพ์ (Evangeline Lilly) ที่เปลี่ยนบริษัท Pym Tech ให้กลายเป็นมูลนิธิการกุศลที่นำเอาเทคโนโลยีอนุภาคพิมมาช่วยเหลือผู้คน
ส่วนตัวผู้เขียนเองตื่นตากับมิติควอนตัมในเรื่องนะครับ เพราะมันแทบจะเป็นการเซตจักรวาลขึ้นมาเลย ไม่ได้แค่โผล่มาเป็นกิมมิกมัลติเวิร์สเฉยๆ รวมทั้งงานซีจีที่ถือว่าสอบผ่านและทำออกมาได้แฟนตาซีสุดกู่ไปเลย ในหนังเราจะได้เห็นมิติที่ถูกแบ่งออกเป็นโซนๆ ได้เห็นสิ่งมีชีวิตและถิ่นที่อยู่ที่แปลกตา ที่มีความเพี้ยนแปลกแต่ก็มีความตื่นตาน่าสนใจ นำพาไปสู่การดำเนินเรื่องของหนังที่มีทิศทางแปลกไปจากเดิม ทั้งการผจญภัยกับชนเผ่าและสัตว์แปลกๆ การเผชิญหน้ากับผู้มีอิทธิพล และการรวมพลังกันเพื่อต่อสู้ปฏิวัติกับอำนาจชั่วร้าย ซึ่งพอดูไปสักพัก ก็จะมีบางฉากในหนังและเส้นเรื่องบางจุดที่ชวนให้นึกถึงหนังหลายๆ เรื่องแบบตะหงิดๆ
เอาที่ใกล้ที่สุดก็อย่างเช่นบรรดาหนัง ‘Avengers’ ผสม ‘Guardians of the Galaxy’ ฉากอื่นๆ ก็ชวนให้นึกถึงหนังบางเรื่องอย่างอดคิดไม่ได้จริงๆ ทั้งพืชและสัตว์ที่แอบคล้าย ‘Avatar’ ความห้าวจนเกิดข้อผิดพลาดระดับมัลติเวิร์สของแคสซีก็ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ใน ‘Spider-Man : No Way Home’ (2021) ในขณะที่ฉากร่วมกันรบพุ่งทำสงคราม ฉากชนเผ่า ฉากเจรจากับสัตว์ในควอนตัม
และบรรดาน้อนๆ ที่ทั้งน่ารักและแปลกตานี่ก็ชวนให้นึกถึง ‘Star Wars’ ในเอพิโสดท้ายๆ อย่าง ‘Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi’ (1983) และ ‘Star Wars: Episode IX – The Rise of Skywalker’ (2019) รวมทั้งแคง จ้าวแห่งมิติควอนตัม และกองทัพในโลกเสมือนนี่ก็ชวนให้นึกถึง ‘Tron’ อยู่หน่อยๆ
ในขณะที่ตัวหนังก็สามารถผสมมุกฮาๆ โดยเฉพาะมุกแนวไดอะล็อก รวมทั้งจังหวะการเล่าเรื่องแบบปั่นๆ กาวๆ ความหนืดหนาดย้วยย้ายบางอย่าง ก็ยังชวนให้นึกถึงการ์ตูน ‘Rick and Morty’ นิดๆ ซึ่งแน่นอนว่ากลิ่นอายความฮาเกรียนๆ ในแบบ 2 ภาคแรกก็หายไปเยอะพอสมควร รวมทั้งการไม่มีสมาชิก 3 เกรียนของลูอิสตามมาด้วย แต่ก็ยังพอจะมีมุกบทสนทนาแซมๆ แกล้มๆ ให้ได้ฮา พร้อมกับมุกจังหวะนรกผิดที่ผิดทาง ที่ถือว่าเป็นงานถนัดของแอนท์-แมนก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งก็ถือว่าทำออกมาได้แบบดูเพลินๆ
ได้ความฮานิดกาวหน่อย ผสมแฟนตาซีตื่นตาและความเล่นใหญ่เล่นโตมาแทน แอนท์ ‑ แมน และ เดอะ วอสพ์ เต็มเรื่อง
ในแง่ตัวละครถือว่ากระจายกันได้อย่างลงตัวและมีเสน่ห์มากขึ้นจาก 2 ภาคแรกนะครับ โดยเฉพาะการแบ่งตัวละครออกเป็น 2 เส้นเรื่อง แต่สิ่งที่ต้องพูดถึงมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นวายร้ายอย่าง แคงผู้พิชิต (Kang the Conqueror) ที่รับบทโดย โจนาธาน เมเจอร์ส (Jonathan Majors) ที่อุตส่าห์บิลต์กันยกใหญ่ว่านี่จะเป็นตัวร้ายประจำ Saga ที่โหดยิ่งกว่าธานอส ถ้าเอาในแง่การแสดง
ก็ต้องใช้คำว่า “มาร์เวลโชคดีที่มี โจนาธาน เมเจอร์ส” จริงๆ เพราะเขาสามารถถ่ายทอดความเป็นแคงได้มีเสน่ห์ น่าเกรงขาม มีความเป็นเจ้าพ่อมาดเข้ม เจ้าเล่ห์ แต่เวลาโหดก็ใส่แบบเดือดๆ เหมือนกัน และฉากต่อสู้นี่ก็เรียกได้ว่า พี่แคงแกเป็นมวย เพราะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังดูหนัง ‘Creed’ อยู่เหมือนกันนะครับ
ชื่อเรื่อง : Ant-Man and the Wasp : Quantumania (แอนท์-แมน และ เดอะ วอสพ์ : ตะลุยมิติควอนตัม)
ประเภท : ไซไฟ, แอ็คชั่น, ผจญภัย
ความยาว : 125 นาที
ระบบเสียง : เสียงไทยและบรรยายไทย
ช่องทางการรับชม : วันนี้ doonung108